การแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมอื่นใดที่อาจใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
(ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวสามารถใช้ได้ตลอด จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงความประสงค์กับ บลจ. หากท่านเคยลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ต้องแจ้งความประสงค์ใหม่)
กรุณาระบุข้อมูล เพื่อยืนยันตัวตนเพื่อเข้าสู่ระบบการแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้
เลขประจำตัวบัตรประชาชน / เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
วัน เดือน ปีเกิด*
* วัน เดือน ปีเกิด ให้ระบุในรูปแบบ “วว/ดด/ปปปป” ตัวอย่างเช่น 9 มีนาคม 2530 พิมพ์ 09/03/2530
FAQ: คำถามที่ถามบ่อย

สาเหตุที่ต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีสำหรับ SSF / RMF ต่อ บลจ.
กรมสรรพากรมีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 414 และ 415) กำหนดให้การซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไปผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(“บลจ.”) ที่ตนได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(“RMF”) และกองทุนรวมเพื่อการออม(“SSF”) โดยกำหนดให้ บลจ. ที่ได้รับแจ้งความประสงค์ ต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ช่องทางการแจ้งความประสงค์ของลูกค้า
ลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ที่ประสงค์ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีจะต้องแจ้งความประสงค์ในการส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุนของตนต่อ บลจ.ที่ท่านซื้อหน่วยลงทุน ไม่สามารถแจ้งตรงต่อกรมสรรพากรโดยใช้หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนแบบเดิมได้ เนื่องจากกรมสรรพากรจะยอมรับข้อมูลหลักฐานการซื้อหน่วยลงทุนจาก บลจ.โดยตรงเท่านั้น

ลูกค้าจะได้รับหนังสือรับรองการซื้อ SSF, RMF ในรูปแบบกระดาษหรือไม่
บลจ.กรุงไทย ขอเรียนท่านผู้ถือหน่วยให้ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป บลจ. ขอยกเลิกการจัดส่งหนังสือรับรองการซื้อกองทุน SSF RMFในรูปแบบกระดาษ

ลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ทุกปีหรือไม่
การแจ้งความประสงค์ของผู้ถือหน่วยนั้น ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ทุกปี แจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียว สามารถใช้ไปได้ตลอด จนกว่าลูกค้าจะแจ้งเปลี่ยนแปลงความประสงค์มายัง บลจ.

กรณีที่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ภายในปีทีซื้อ SSF, RMF
ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้แจ้งความประสงค์ภายในปีที่ซื้อ SSF, RMF ลูกค้าสามารถขอให้ บลจ. นำส่งและเปิดเผยข้อมูลการลงทุนย้อนหลังได้โดยแจ้งมายัง บลจ. ในกรณีที่ขอให้ บลจ.ส่งข้อมูลย้อนหลังให้กรมสรรพากร จะใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่ากรณีปกติ เนื่องจากจะเป็นกรณีที่ บลจ. จะส่งข้อมูลไปที่กรมสรรพากรนอกรอบการส่งปกติ

ลูกค้าขอให้ บลจ.นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้กี่ปี
ลูกค้าสามารถขอให้ บลจ.นำส่งข้อมูลย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปีภาษี รวมปีภาษีปัจจุบัน โดยเริ่มที่ปีภาษี 2565 เป็นภาษีแรกของการนำส่งด้วยอิเล็กทรอนิกส์