ข้อมูลทั่วไป
หน้าหลัก > กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ > ข้อมูลทั่วไป > คำถามที่พบบ่อย > สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • 1. สนใจจัดตั้งกองทุนหรือสอบถามข้อมูลกองทุนทั่วไป

     ติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาดฝ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

      - โทรศัพท์ 02-686-6100 (เข้าสู่ระบบตอบรับอัตโนมัติ) > กด 1 (ลูกค้าทั่วไป) > กด 2 (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) > กด3 (ติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาด) 
           - โทรสาร 02-670-0416
           - E-mail : [email protected]

    2. สอบถามข้อมูลด้านงานทะเบียนสมาชิกกองทุน ติดต่อเจ้าหน้าที่งานทะเบียนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

    ติดต่อฝ่ายทะเบียนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

     - โทรศัพท์ 02-686-6100 (เข้าสู่ระบบตอบรับอัตโนมัติ) > กด 1 (ลูกค้าทั่วไป) > กด 2 (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) > กด 2 (ติดต่อเจ้าหน้าที่งานทะเบียนสมาชิก)
            - โทรสาร 02-670-0424
            - E-mail : [email protected]

  • นายจ้างได้ประโยชน์ คือ 

    1. เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย 

    2. เป็นสวัสดิการดึงดูดให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างนานขึ้นลูกจ้างได้ประโยชน์ คือ

         - เสมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้
         - เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ
         - เป็นหลักประกันให้กับชีวิตและครอบครัวกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต
         - เงินกองทุนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
         - เป็นโอกาสออมเงินให้กับตนเองและครอบครัว
         - เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ / เป็นเจ้าของบัญชีตัวเอง
         - สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สมาชิกจะได้รับ
     

  • - กองทุนเดี่ยว (Single fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้างเพียงรายเดียวในกองทุน
    - กองทุนร่วม (Pooled fund) หมายถึง กองทุนที่มีนายจ้างมากกว่า 1 รายขึ้นไปมาเข้าร่วมในกองทุนเดียวกันข้อแตกต่าง

    กองทุนเดี่ยว จะมีความเป็นเจ้าของกองทุนของกองทุนตนเอง คณะกรรมการกองทุนมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับกองทุนและนโยบายการลงทุนได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากไม่จำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากนายจ้างรายอื่น แต่การจัดตั้งกองทุนเดี่ยวอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากองทุนร่วม เนื่องจากไม่มีสมาชิกของนายจ้างรายอื่นมาร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุน กองทุนเดี่ยวจึงเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเงินกองทุนพอสมควร

    กองทุนร่วม เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนายจ้างขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีเงินกองทุนไม่มากนัก เนื่องจากสามารถเฉลี่ยค่าบริหารจัดการกองทุนบางอย่างกับสมาชิกของนายจ้างรายอื่นในกองทุนร่วมได้ และเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทจัดการสามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายมากขึ้นเนื่องจากมีเงินกองทุนมากพอควร แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอำนาจในการตัดสินใจของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกองทุนของบริษัทนายจ้างรายอื่นและนโยบายการลงทุนเปลี่ยนแปลงได้ไม่ง่ายนัก

  • ค่าใช้จ่ายหลักๆ ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าใช้จ่ายหลักๆ / ผู้รับผิดชอบ

    1. ค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุน (Management Fee) กองทุนเป็นผู้รับผิดชอบ
    2. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน และค่าธรรมเนียมในการรับรองความถูกต้อง ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน}
        (Custodian Fee and NAV Confirmation) กองทุนเป็นผู้รับผิดชอบ
    3. ค่าสอบบัญชีกองทุน (Auditor fee) กองทุน หรือ นายจ้าง (ขึ้นอยู่กับข้อตกลง) 
    4. ค่าจัดทำทะเบียนสมาชิก (Registrar fee) กองทุน หรือ นายจ้าง เป็นผู้รับผิดชอบ (ขึ้นอยู่กับข้อตกลง)
    5. ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งกองทุน (Initial fee) นายจ้าง เป็นผู้รับผิดชอบ (คิดครั้งเดียวเฉพาะเมื่อเริ่มจัดตั้ง)


        หากต้องการทราบข้อมูลเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาด ฝ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

            - โทรศัพท์ 02-686-6100 (เข้าสู่ระบบตอบรับอัตโนมัติ) > กด 1 (ลูกค้าทั่วไป) > กด 2 (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) > กด3 (ติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาด) 
            - โทรสาร 02-670-0416
            - E-mail [email protected]

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มิได้กำหนด จำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุนและจำนวนสมาชิกกองทุนขั้นต่ำในแต่ละงวดเดือนไว้ 

  • บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการบริหารจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้

    1. กองทุนที่มีนายจ้างรายเดียวจัดตั้งขึ้น (Single Fund) หรือกองทุนเดี่ยว     

         1.1 นโยบายการลงทุนเดียว
         1.2 หลายนโยบายการลงทุน (Master Fund)*


    2. กองทุนที่มีนายจ้างหลายรายร่วมกันจัดตั้ง (Pooled Fund) หรือกองทุนร่วม     

         2.1 นโยบายการลงทุนเดียว
         2.2 หลายนโยบายการลงทุน (Master Fund)*

    * กองทุนประเภทหลายนโยบายการลงทุน (Master Fund) ลูกค้าสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนให้แก่สมาชิกเลือก (Option) ได้ รวมถึงเปิดให้สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตนเอง (Do It Yourself)

  • การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีหลักเกณฑ์หรือข้อกฎหมาย ดังนี้

    1. มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กำหนดว่า กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนนั้น 

    2. มีผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง (ไม่ใช่บุคคลเดียวกัน) ลงชื่อในแบบคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักเกณฑ์ของนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จะพิจารณาถึงความเหมาะสมของลักษณะการประกอบกิจการหลักของนายจ้างและจำนวนลูกจ้างขององค์กรประกอบ 

    3. ปัจจุบันกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนเป็นความสมัครใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อย่างไรก็ดี หากบริษัทประสงค์จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

    4. จำนวนสมาชิกกองทุนขั้นต่ำในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนโดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของลักษณะการประกอบกิจการหลักของนายจ้างและจำนวนลูกจ้างขององค์กรประกอบด้วย กรณีมีลูกจ้างรายเดียว บริษัทควรจัดส่งเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับลักษณะการประกอบกิจการ รวมทั้งแนวโน้มที่จะมีการเพิ่มจำนวนลูกจ้างในอนาคตเพื่อประกอบการพิจารณา


    ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังนี้

     - จัดตั้งกองทุนเดี่ยว (Single Fund) : บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาช่วยในการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นข้อบังคับกองทุนและขอจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อสำนักงาน ก.ล.ต. 

     - เพิ่มนายจ้างในกองทุนร่วม (Pooled Fund) : บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาช่วยในการเตรียมเอกสารจัดทำข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนซึ่งแตกต่างจากข้อบังคับหลัก เช่น เรื่องอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ เป็นต้น และแก้ไขข้อบังคับกองทุนหลักเพื่อนำไปยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต.