กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้าง (ผู้ประกอบการ) และลูกจ้าง (พนักงาน) จัดตั้งขี้นด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันให้กับพนักงานในยามเกษียณอายุหรือออกจากงาน โดยพนักงานจะจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง เรียกว่า “เงินสะสม” รวมกับเงินจากนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เรียกว่า “เงินสมทบ” โดยจะต้องมีคณะกรรมการซึ่งมาจากความยินยอมของทั้งสองฝ่ายเพื่อมาควบคุม และหาบริษัทจัดการที่ทำหน้าที่บริหารเงินกองทุนก้อนดังกล่าว โดยทำสัญญาว่าจ้างจากนั้นนำไปจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พร้อมทั้งบริหารจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรายงานผลการดำเนินงานกองทุนให้ทราบเป็นระยะ ๆ
วัตถุประสงค์หลัก• เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน และเป็นหลักประกันเมื่อยามเกษียณหรือออกจากงาน• เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ• เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาว ประโยชน์ที่ได้รับในการจัดตั้งกองทุนประโยชน์สำหรับนายจ้าง• เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับพนักงานในการทำงาน• เป็นสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน• นายจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จากเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุน โดยสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ประโยชน์สำหรับลูกจ้าง / พนักงาน เมื่อสมัครเป็นเสมาชิกกองทุน• เสมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้• เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ• เป็นหลักประกันให้กับชีวิตและครอบครัวกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต• เงินกองทุนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ทั้งนี้เมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพทุกกรณี จะได้รับเงินสะสม และผลประโยชน์เงินสะสมเต็ม จำนวน และอยู่นอกเหนือเหตุแห่งการบังคับคดีทั้งปวง• เป็นโอกาสออมเงินให้กับตนเองและครอบครัว• เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพ• สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเป็นสมาชิกกองทุน ดังนี้ - จากการลงทุนของสมาชิก สมารถนำเงินสะสมไปลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี - รายได้จากการลงทุนได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย - เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ เงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีเงินได้ ตามเหตุของการสิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น ลาออกจากงานโดย ณ วันที่ลาออกมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิในการลดหย่อนภาษี หรือกรณีลาออกจากงานเมื่ออายุตัว 55 ปี บริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน เป็นต้น
- คลิกเพื่อดูรูป -
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย มาสเตอร์ พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (เน้นการลงทุนตรง)
• จัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) • มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ • มีระบบการจัดเก็บข้อมูล และระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ • กรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ สามารถจ่ายเช็คภายใน 5 วันทำการ นับจากวันคำนวณจำนวนหน่วย • กรรมการกองทุนสามารถตรวจสอบสถานะเงินกองทุน รวมถึงรายงานต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต • สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินกองทุน ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยตนเองผ่านทาง website
บริการอื่น ๆ - ดำเนินการแจ้งจดทะเบียนกองทุนกับ สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - ประสานงานและให้คำปรึกษาลูกค้าในเรื่องการร่างข้อบังคับกองทุนให้ถูกต้องและสอดคล้องกับ พรบ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ- ช่วยประสานงานกับบริษัทต่างๆในเครือธนาคารกรุงไทยในด้านการให้บริการทางการเงินพิเศษอื่นๆ เช่น การทำประกันภัย, การทำบัตรเครดิต ฯลฯ
ข้าพเจ้าได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ข้างต้นแล้ว
ตามที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. ยกเลิกสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนนโยบายตราสารทุน และกระจายพอร์ตการลงทุนให้กับพอร์ตของ บลจ, เอ็มเอฟซี (2) บลจ.ไทยพาณิชย์ และ บลจ.ไทยพาณิชย์ (2) โดยจะมีผลในวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2566 นั้น
จากข้อจำกัดของระบบทะเบียนสมาชิก ทำให้ในการดำเนินการกระจายพอร์ตการลงทุนนโยบายตราสาร ทุนจะกระทบต่อการสับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนของสมาชิก ดังนี้