สมาชิกควรมีการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ สมาชิกสามารถพิจารณาได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1. สมาชิกสามารถติดตามผลการดำเนินงานได้จาก รายงานผลการจัดการกองทุนที่บริษัทจัดการจัดทำขึ้นและส่งให้คณะกรรมการกองทุนทุกเดือน และคณะกรรมการกองทุนจะแจ้งต่อสมาชิกทราบ เช่นการติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของบริษัท อีเมล์ หรืออินทราเน็ต (Intranet) แต่หากคณะกรรมการกองทุนไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลนี้ให้สมาชิกทราบ สมาชิกก็มีสิทธิขอดูได้จากคณะกรรมการกองทุน
2. ใบแจ้งยอดเงินสมาชิกองทุนราย 6 เดือน (ข้อมูลตั้งแต่ต้นปี จนถึงข้อมูล ณ วันที่รายงาน) ซึ่งในใบแจ้งยอดเงินสมาชิกกองทุนจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสะสม ผลประโยชย์เงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสมทบ และยอดรวมเงินทั้งหมดที่สมาชิกมีอยู่ในกองทุน ณ วันที่รายงาน และที่สำคัญที่สมาชิกควรทราบ คือ มูลค่าต่อหน่วย (Nav per Unit) และอัตราผลตอบแทนสะสม (Yield to Date) (ข้อมูลตั้งแต่ต้นปี จนถึงข้อมูล ณ วันที่รายงาน) ว่าเป็นเท่าไร ดังตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่าง การคำนวนผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุน
รายละเอียดใบแจ้งยอดเงินสมาชิกกองทุน ณ 30 มิถุนายน 2556
- ชื่อกองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ...............................................ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
- ชื่อนายจ้าง ................................................................................
- รหัสฝ่าย................................ - ชื่อฝ่าย....................................... - ณ วันที่รายงาน ณ 30 มิถุนายน 2556
- รหัสสมาชิก............................ - ชื่อ-สกุล สมาชิก......................... - เลขประจำตัวประชาชน..........................
รายการ | ส่วนของสมาชิก | ส่วนของนายจ้าง | รวม | ||
เงินสะสม | ผลประโยชน์เงินสะสม | เงินสมทบ | ผลประโยชน์เงินสมทบ | ||
ยอดยกมา | 18,000.00 | 1,500.00 | 18,000.00 | 1,500.00 | 39,00.00 |
เงินกองทุนเก่า | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
เงินรับโอนระหว่างปี | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
เงินกองทุนระหว่างปี | 6,000.00 | 500.00 | 6,000.00 | 500.00 | 13,00.00 |
ยอดรวม | 24,000.00 | 2,000.00 | 24,000.00 | 2,000.00 | 52,00.00 |
รายละเอียดจำนวนเงิน และจำนวนหน่วยแยกตามนโยบายการลงทุน
นโยบาย การลงทุน |
% เงินใน การลงทุน |
เงินสะสม | ผลประโยชน์ เงินสะสม |
เงินสมทบ | ผลประโยชน์ เงินสมทบ |
ยอดรวม | มูลค่าทรัพย์สิน สุทธิต่อหน่วย (บาท) |
หน่วยรวม | อัตราผลตอบแทน สะสม (ม.ค. - มิ.ย.56) |
ผสมหุ้นไม่เกิน 15 % | 100% | 24,000.00 | 2,000.00 | 24,000.00 | 2,000.00 | 52,000.00 | 10.4000 | 2,400.00 | 4.00% |
สิ่งที่สมาชิกควรรู้
1.เปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ให้ตรวจสอบ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย ที่แสดงในใบแจ้งยอดเงินสมาชิกราย 6 เดือนล่าสุด เทียบกับ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย
ในงวดที่ผ่านมา หากเห็นว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยสูงขึ้น ก็หมายความว่าผลการดำเนินงานของกองทุนดีขึ้น แต่หากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลดลง ก็หมายความว่าผลการดำเนินงานของกองทุนด้อยลง
จากตัวอย่าง ถ้า “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยต้นงวด” คือ ณ 31 ธันวาคม 2555 เท่ากับ 10.0000 บาท และ “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยงวด ปัจจุบัน” ในใบแจ้งยอดเงินสมาชิก ณ 30 มิถุนายน 2556 (ตามตัวอย่าง) เท่ากับ 10.4000 บาท นั้นหมายความว่าผลการดำเนินงานของกองทุนดีขึ้น
2. วิธีการคำนวน “อัตราผลตอบแทนสะสม”
ดังนั้น หากสมาชิกต้องการทราบผลการดำเนินงานตลอดทั้งปี 2556 จะคำนวนจาก
ถ้า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยต้นงวด ณ 31 ธันวาคม 2555 = 10.0000
ถ้า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยงวดปัจจุบัน ณ 31 ธันวาคม 2556 = 10.8000
เพราะฉะนั้น อัตราผลผลตอบสะสม ปี 2556 = [(10.8000 - 10.0000)/10.0000] x 100
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนสะสม = 8.00%
(ตั้งแต่ 1 ม.ค. 56 - 31 ธ.ค.56)