เข้าสู่ระบบ
ไทย | English
สำหรับคณะกรรมการกองทุน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อบังคับกองทุน
  • ข้อบังคับกองทุน คือ กติกาที่กำหนดขอบเขตและแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้คณะกรรมการกองทุนและสมาชิกกองทุนถือปฏิบัติ โดยข้อบังคับกองทุนจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวทางปฏิบัติของนายทะเบียน ทั้งนี้ ข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมายจะต้องจดทะเบียนกับนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

    ขั้นตอนในการจัดทำข้อบังคับ

    ข้อบังคับของกองทุนเดี่ยว (Single fund) จะต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

    1. ชื่อกองทุนต้องมีคำว่า "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" นำหน้า และมีคำว่า "ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" ต่อท้าย
    2. ที่ตั้งสำนักงานกองทุน
    3. วัตถุประสงค์ของกองทุน
    4. วิธีรับสมาชิกและการสิ้นสมาชิกภาพสำหรับกองทุนที่เปิดรับโอนสมาชิกจากกองทุนอื่น ควรกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของสมาชิกที่สามารถขอโอนย้ายเข้ากองทุนได้ไว้ด้วย นอกจากนี้ในการกำหนดวันสิ้นสมาชิกภาพ ข้อบังคับจะกำหนดวันสิ้นสมาชิกภาพเป็นวันอื่นภายหลังวันสิ้นสมาชิกภาพไม่ได้ 
    5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ วิธีการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมคณะกรรมการกองทุน
    6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินสะสมของลูกจ้าง และเงินสมทบของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุนในกองทุนเดียวกันสามารถกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบให้มีความแตกต่างกันก็ได้ เช่น กำหนดตามอายุงาน หรือกำหนดตามระดับ ของพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ยุติธรรมด้วย อย่างไรก็ดี การกำหนดอัตราเงินสมทบของนายจ้างจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของลูกจ้างในทุกกรณี 
    7. ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ
    8. ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ หรือเมื่อกองทุนเลิกทั้งนี้ ข้อกำหนดนั้นจะต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
    9. ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน
    10. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมสมาชิกแยกตามนโยบายการลงทุน (กรณีกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน) หรือการประชุมสมาชิกตามรายนายจ้าง (กรณีกองทุนหลายนายจ้าง) ควรกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุม หรือเรื่องสำคัญที่จะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ เป็นต้น

    ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนสำหรับนายจ้างที่เข้าร่วมกองทุนร่วม (Pooled fund)

    ข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนนายจ้างจะเป็นข้อกำหนดส่วนที่เพิ่มเติมจากข้อบังคับหลัก ในส่วนของข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนนายจ้างนี้เป็นเรื่องของข้อตกลงกันที่จะบังคับใช้เฉพาะกลุ่มภายใต้นายจ้างของตนเองไม่เกี่ยวกับกลุ่มของนายจ้างรายอื่น สำหรับ เช่น คุณสมบัติการเข้าเป็นสมาชิก อัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ อัตราการจ่ายเงินคืนเมื่อสมาชิกพ้นสภาพ เป็นต้น

  • เนื้อหาคำตอบ : กองทุนจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง และข้อบังคับถือเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นสัญญาระหว่างกองทุนและสมาชิกกองทุน ซึ่งข้อบังคับที่นายทะเบียน (สำนักงาน ก.ล.ต.) รับจดต้องไม่ขัดวัตถุประสงค์และขัดต่อกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับการกำหนดรายละเอียดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ในข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น ถือว่าเป็นความเห็นชอบร่วมกันของคณะกรรมการกองทุนทั้งฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างแล้ว ดังนั้น ข้อกำหนดในข้อบังคับกองทุนกำหนดเงื่อนไขเป็นเช่นไร สมาชิกกองทุนและนายจ้างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น อย่างไรก็ดี หากสมาชิกเห็นว่าข้อบังคับในเรื่องใดกำหนดยังไม่เหมาะสม อาจแสดงความคิดเห็นผ่านกรรมการกองทุนฝ่ายลูกจ้างได้

  • ในการแก้ไขข้อบังคับกองทุน ให้กรรมการกองทุนแจ้งต่อบลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้ช่วยจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ และยื่นคำขอจด ทะเบียนแก้ไขข้อบังคับต่อนายทะเบียน (สำนักงาน ก.ล.ต.) แทนกรรมการกองทุน โดย

    1. ติดต่อขอรับแบบฟอร์มได้ที่ ส่วนงานสนับสนุนการขายและจดทะเบียน
          - E-Mail: [email protected] หรือ
          - สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-686-6190-93

    2. ระยะเวลาในการแก้ไขข้อบังคับ ไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน)ได้รับแจ้งตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้

  • กฎหมายกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนให้นำไปจดทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุน และข้อบังคับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อนายทะเบียน (สำนักงาน ก.ล.ต.) รับจดทะเบียนแล้ว และมีการแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนดังกล่าวแล้ว

  •  สมาชิกมีสิทธิขอดูข้อบังคับกองทุนได้จากกรรมการกองทุน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือช่องทางที่มีการเผยแพร่ให้สมาชิกรู้ เช่น ณ ที่ตั้งกองทุน เป็นต้น